วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฎหมายชาวบ้าน

มรดกของคู่สมรส

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของคู่สมรสจะมีสิทธิได้รับมรดกแค่ไหนเพียงไร หากสามีหรือภรรยาถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาท คู่สมรสจะได้รับมรดกมากน้อยแค่ไหนหากสามีหรือภรรยาถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาท คู่สมรสจะได้รับมรดกมากน้อยแค่ไหน ว่าไงค่ะ สนใจไหมหล่ะ
อันที่จริงใครมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในมืออยู่แล้วก็สามารถหาคำตอบได้ทันทีแต่หากท่านไม่มี ต้องอ่านกฎหมายชาวบ้านนี่หล่ะมีคำตอบให้ในความเป็นจริงกฎหมายก็เขียนเอาไว้นานแล้ว แต่ชาวบ้านไม่ค่อยเข้าใจหรือบรรดาผู้เป็นภรรยาทั้งหลายอาจยังไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิอะไรบ้าง ขณะที่เรากำลังรณรงค์ในเรื่องสิทธิสตรี งั้นดิฉันขอช่วยอีกแรงนะค่ะ
โดยปกติเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย สิทธิในการรับมรดกเกิดขึ้นทันที โดยผู้ที่เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เรามาปูพื้นฐานในเรื่องลำดับของสิทธิในการรับมรดกกันก่อนนะค่ะ
กฎหมายบอกว่าทายาทโดยธรรมมีอยู่ 6 ลำดับเท่านั้น นอกเหนือจาก 6 ลำดับนี้แล้ว ไม่ใช่ และทายาทเหล่านี้จะมาแย่งกันรับมรดกไม่ได้ ต้องเป็นลำดับดังนี้ครับ
1. ผู้สืบสันดาน
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
ซึ่งลำดับดังกล่าวข้างต้นนี้ ทายาทลำดับที่ 1 ไม่ตัดทายาทลำดับ 2 หมายถึงว่าถ้ามีลูก ก็ยังให้บิดามารดามีสิทธิได้รับมรดก แต่ถ้าลูกไม่มี มีแต่บิดามารดา ทายาท ลำดับที่ 3 คือ พี่น้องร่วมบิดามารดา เดียวกัน หรือทายาทลำดับถัด ๆ ไป ก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดก
ถ้าผู้ตายมีภรรยาหรือสามี (ต้องเป็นภรรยาหรือสามีที่จดทะเบียนสมรสด้วยนะค่ะ) และบุตร และบิดายังมีชีวิตอยู่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินด้วยกัน ก็ต้องแบ่งครึ่งให้กับฝ่ายที่ยังมีชีวิตกึ่งหนึ่งก่อน (หมายถึงว่าเราไม่พูดกันถึงหนี้สินนะค่ะ) ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง่ก็จะตกเป็นมรดก ทายาทของผู้ตายก็จะมีสิทธิได้รับมรดกก็รับส่วนแบ่งกันไปตามส่วนนะค่ะ และส่วนเท่ากันทุกคนก็คือ พ่อก็ส่วนหนึ่ง แม่ก็ส่วนหนึ่ง ลูกก็คนละหนึ่งส่วน คู่สมรสก็ยังมีชีวิตอยู่ก็หนึ่งส่วนพูดง่าย ๆ ก็คือ เอาจำนวนผู้มีสิทธิได้รับมรดกมาหาร สมมติมีเงินสดอยู่ในธนาคาร 60 ล้าน ครอบครัวนี้มี พ่อ, แม่, ภรรยา และบุตรอีก 3 คน ก็เอา 6 ไปหาร 60 ก็จะได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกคนละ 10 ล้าน ค่ะ
ถ้าพ่อแม่ของผู้ตายไม่มี(หมายถึงว่าเขาตายไปก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายไม่ใช่ว่าเขาไม่มีพ่อไม่มีแม่นะ) มีแต่เมียกับลูก ก็จะตกได้แต่เมียกับลูกทั้งหมดเลย
ถ้าผู้ตายไม่มีลูกเมียทรัพย์มรดกจะตกได้แก่บิดามารดาทั้งหมด ถ้าพ่อแม่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่จะมีแต่แม่หรือจะมีแต่พ่อหรือยังมีชีวิตอยู่ทั้งสองคนก็ตาม มีแต่เมียจดทะเบียนแต่ไม่มีลูก ทรัพย์มรดกจะตกได้แก่คู่สมรสครึ่งหนึ่งนะค่ะ
ถ้าพ่อแม่ผู้ตายไม่มีชีวิตอยู่แล้ว บุตรผู้ตายก็ไม่มี มีแต่ภรรยา ทรัพย์มรดกก็จะไปตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของผู้ตายครึ่งหนึ่ง คู่สมรสก็ได้มรดกครึ่งหนึ่ง เรียกว่าวัดครึ่งหนึ่งกรรมการครึ่งหนึ่งนั่นหล่ะค่ะ สมมติว่าทรัพย์มรดกหกสิบล้านเท่าเดิม ถ้าเขามีพี่น้อง 3 คน อย่าลืมอย่าพลาดเพราะคู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งก่อน และส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งคือสามสิบล้าน ก็เจ้าพี่น้อง 3 คนนั่นมีสิทธิได้รับมรดกคนละสิบล้าน คงพอเข้าใจนะค่ะ
คราวนี้ มาดูอีกรูปแบบหนึ่งค่ะ พ่อแม่ก็ไม่มี ลูกก็ไม่มี มีแต่ภรรยา ส่วนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของผู้ตายก็ไม่มี มีแต่พี่น้องร่วมแต่บิดามารดาเดียวกัน พวกนี้ก็จะได้รับทรัพย์มรดกไป หนึ่งในสาม ส่วนคุณภรรยาได้รับคนเดียวสองในสามส่วน หรือพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเกียวกันไม่มี มีแต่ปู่ ย่า ตา ยาย หรือปู่ย่าตายาย ไม่มีเหลือแต่ ลุง ป้า น้า อา อย่างนี้ คู่สมรสก็ได้ไป สองในสามส่วนเช่นกัน ส่วนทีเหลือหนึ่งในสาม ก็เอาไปเฉลี่ยกันเอง
ที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดก็เพราะว่า เห็นตัวอย่างในสังคมที่เป็นจริง มีผู้หญิงจำนวนมากที่ไม่รู้ไม่ทราบว่าตนมีสิทธิอะไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิทธิที่ตนควรจะได้รับ ความเป็นช้างเท้าหลัง ความที่จะต้องอยู่กับบรรดาญาติพี่น้องของสามี ทำให้สตรีเหล่านี้ไม่กล้ามีสิทธิมีเสียง ไม่กล้าลุกขึ้นทวงสิทธิของตนหรืออาจจะเป็นเพราะไม่รู้ว่าตนมีสิทธิเพียงใด
ดิฉันเคยบอกเพี่อนหญิงที่มีสามีแล้ว่า เราหมดสมัยที่เป็นช้างเท้าหลังแล้ว เราควรที่จะกล้าแสดงออก กล้าเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้องจากสามีของเราได้
และดิฉันก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยเพื่อนหญิงของเราได้บ้าง
แล้วท่านหล่ะคิดอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น